------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พฤติกรรมการเปิดรับ Hi5 ของวัยรุ่นไทย Media Exposure Behavior on Hi5 of Thai Adolescents
บทความโดย : สาระดีดี.คอม/ WWW.SARA-DD.COM
คนเราต่างมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อตามแบบเฉพาะของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันไป พฤติกรรมของวัยรุ่นต่อการเปิดรับการใช้เว็บ Hi5 ก็เช่นเดียวกันย่อมมีความแตกต่างกันตามสาเหตุต่างๆ ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดของนักจิตวิทยา (สุชา จันทน์เอม, 2544) เกี่ยวพฤติกรรมวัยรุ่นที่กล่าวว่าเนื่องมาจากความต้องการ 3 ประการ อันประกอบด้วย 1) ความต้องการทางกาย หรือความต้องการทางสรีระ 2) ความต้องการทางสังคม และ 3) ความต้องการทางใจ เมื่อนำมาพิจารณา พฤติกรรมของวัยรุ่นต่อการเปิดรับการใช้เว็บ Hi5 จะพบว่า การเปิดรับการใช้เว็บ Hi5 จะสอดรับกับความต้องการทางสังคม และความต้องการทางใจ เป็นสำคัญกล่าวคือ
1. ความต้องการทางสังคม
2. ความต้องการทางใจ
การสำรวจข้อมูลของคนไทยที่ใช้ Hi5 ในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่า ที่มีการเล่นมากที่สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 18-24 ปี เป็นสัดส่วนถึง 42.19% โดยสัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชายก็จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยที่สัดส่วนของผู้เล่นเพศหญิงจะมากกว่าเล็กน้อย (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2551 : ออนไลน์) สมาชิกส่วนใหญ่จะใช้ hi5 ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเพื่อน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน มีการแชร์รูปภาพกันดู รวมทั้งบอกเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบโลก ในปัจจุบันกลุ่มผู้ได้ได้กระจายไปแทบทุกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มระดับวัยทำงานอยู่ในกลุ่มอายุ 20 – 30 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีผู้เข้าเล่น hi5 โดยไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพและการศึกษา ผู้เล่น hi5 ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ประถม ถึงระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งคนวัยทำงาน วัยกลางคน ไม่จำกัดวัย ไม่จำกัดเพศ และอาชีพ
จากความสามารถในการตอบสนองความต้องการทางการสื่อสารของวัยรุ่นได้อย่างหลากหลายจึงส่งผลให้ในปัจจุบันเว็บ Hi5 ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นไทยเป็นอันดับ 2 รองจากเว็บ Google เท่านั้น
เอกสารอ้างอิง กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. 2551. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร (Media exposure). ขวัญวลี โฉมสุข และคณะ. 2551. hi5 ชุมชนออนไลน์กับพฤติกรรมใหม่ของนิสิต. คณะวิทยาการ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2551. ไฮไฟฟ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก สุมาลี ชัยเจริญ. 2551. การสื่อสารและการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก SAWAKE. 2551. จิตวิทยาวัยรุ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
................................
|